เผยแพร่ภาพผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต ผิดตามกฎหมายอย่างไร ?

ปัจจุบันการเผยแพร่ภาพผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นประเด็นทางกฎหมายที่น่าสนใจ การลงรูปคนอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาตอาจนำไปสู่การละเมิดสิทธิส่วนบุคคล ดังนั้นการทำความเข้าใจกฎหมายที่เกี่ยวข้อง สิทธิของเจ้าของข้อมูล ตลอดจนขั้นตอนการปฏิบัติตัวเมื่อตกเป็นผู้เสียหาย จึงมีความสำคัญที่ทาง THEMIS LEGAL SPIRIT ต้องการนำเสนอให้ความรู้แก่ท่านผู้อ่าน

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเผยแพร่ภาพผู้อื่น

การนำภาพถ่ายของบุคคลอื่นไปเผยแพร่โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าตัว เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายหลายฉบับ ทั้งที่เป็นกฎหมายเฉพาะอย่าง พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (PDPA) และ พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2560 รวมถึงกฎหมายทั่วไปอย่างประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และประมวลกฎหมายอาญา ที่บัญญัติข้อห้ามและบทลงโทษไว้

พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (PDPA)

PDPA เป็นกฎหมายคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคลในข้อมูลส่วนตัว ซึ่งรวมถึงภาพถ่ายด้วย โดยหลักแล้วผู้ที่เก็บรวบรวม ใช้ หรือเผยแพร่ภาพผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาตจะต้องแจ้งวัตถุประสงค์และได้รับความยินยอมล่วงหน้า เว้นแต่จะเข้าข้อยกเว้นตามกฎหมาย เช่น ทำเพื่อประโยชน์ส่วนตนโดยไม่เปิดเผยต่อ การเผยแพร่ภาพผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาตจึงอาจเป็นความผิดตาม PDPA มาตรา 41 ซึ่งมีโทษทางอาญา

ความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา

การลงรูปคนอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต หากมีลักษณะในทางเสียหาย อาจถือเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 ที่บัญญัติว่า ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่อาจจะทำให้เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

การโพสต์ภาพบุคคลอื่นในลักษณะอันเป็นเท็จ หรือไม่เป็นความจริง หรืออาจทำให้บุคคลอื่นเสียหาย เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือที่เรียกว่า “โพสรูปประจานผิดกฎหมายไหม” อาจเข้าข่ายเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ มาตรา 14(1) ที่นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลอันเป็นเท็จ และมาตรา 16 ที่นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งสิ่งลามก อนาจาร อันไม่เหมาะสม

ทั้งนี้การเผยแพร่ภาพผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต อาจเข้าข่ายกฎหมายใหม่ห้ามถ่ายรูปหรือกฎหมายห้ามถ่ายรูปก็ได้ ต้องดูรายละเอียดต่างๆ เป็นกรณีไป

การละเมิดสิทธิส่วนบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

นอกจากนั้น การเผยแพร่ภาพผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นภาพส่วนตัวที่ถ่ายในที่รโหฐานหรือสถานที่ส่วนตัว ย่อมเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลตามมาตรา 420 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ถือเป็นการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ก่อให้เกิดความเสียหายต่อร่างกาย สุขภาพอนามัย ทรัพย์สิน เสรีภาพ ชื่อเสียง ของเจ้าของข้อมูล ซึ่งถือว่าเป็นกฎหมายละเมิดสิทธิส่วนบุคคล ซึ่งอาจเรียกร้องค่าเสียหายจากผู้ที่นำภาพไปเผยแพร่ได้

สิทธิของเจ้าของข้อมูลภาพถ่ายตาม PDPA

PDPA หรือ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ให้สิทธิต่างๆ แก่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล รวมถึงข้อมูลภาพถ่ายด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีผู้นำภาพถ่ายของตนไปเผยแพร่โดยไม่ได้รับอนุญาตหรือลงรูปคนอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต ไม่ว่าจะโพสต์ลงโซเชียลมีเดีย เว็บไซต์ หรือวิธีการใด สิทธิที่สำคัญๆ ได้แก่

สิทธิในการถอนความยินยอมในการเผยแพร่รูปภาพ

แม้ว่าเจ้าของข้อมูลจะเคยให้ความยินยอมไว้ก่อน แต่สามารถเปลี่ยนใจและถอนความยินยอมในการเผยแพร่รูปภาพของตนเองได้ตามมาตรา 19(5) ผู้ควบคุมข้อมูลจึงต้องระงับการใช้หรือเผยแพร่ภาพผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาตอีกต่อไป

สิทธิคัดค้านการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล

มาตรา 32 ให้สิทธิแก่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลในการคัดค้านการประมวลผลข้อมูลของตนได้ เมื่อเข้าเงื่อนไขที่กำหนด เช่น ไม่ได้ให้ความยินยอมไว้ก่อน หรือข้อมูลที่ใช้ไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือเก็บข้อมูลเกินความจำเป็น

สิทธิขอให้ลบ หรือทำลายภาพ

หากผู้ควบคุมข้อมูลไม่มีฐานทางกฎหมาย ไม่จำเป็นต้องใช้ข้อมูลอีกต่อไป หรือใช้ข้อมูลผิดวัตถุประสงค์ มาตรา 33 ให้สิทธิเจ้าของข้อมูลขอให้ลบ ทำลาย หรือทำให้ข้อมูลเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวบุคคลได้ ทั้งนี้ผู้ควบคุมข้อมูลต้องจัดการลบหรือทำลายตามคำร้องขอ

สิทธิในการร้องเรียน หรือแจ้งความดำเนินคดี

หากองค์กรหรือบุคคลใดละเมิดหรือไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา 73 ให้สิทธิแก่เจ้าของข้อมูลที่จะร้องเรียนต่อคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลได้ และตามมาตรา 75 มีสิทธิที่จะเรียกร้องค่าเสียหายจากผู้ควบคุมข้อมูลที่กระทำการละเมิดนั้นก็ได้

ขั้นตอนปฏิบัติเมื่อภาพถ่ายถูกเผยแพร่โดยไม่ได้รับอนุญาต

หากพบว่ามีผู้นำภาพถ่ายของเราไปเผยแพร่โดยไม่ได้รับอนุญาตหรือลงรูปคนอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต เราสามารถดำเนินการได้ตามขั้นตอนต่อไปนี้

ติดต่อผู้ที่นำภาพถ่ายไปเผยแพร่เพื่อขอให้ลบ หรือระงับใช้

ควรติดต่อไปยังผู้ที่นำภาพถ่ายของเราไปเผยแพร่ก่อน โดยแจ้งอ้างถึงสิทธิของเราในฐานะเจ้าของข้อมูล และขอให้ลบ ทำลาย หรือระงับใช้ภาพถ่ายของเราโดยเร็ว ถ้าผู้นั้นให้ความร่วมมือก็ถือว่าเรื่องยุติ

บันทึกหลักฐานการนำภาพถ่ายไปเผยแพร่โดยไม่ได้รับอนุญาต

หากมีการลงรูปคนอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาตแต่ผู้โพสต์ไม่ให้ความร่วมมือในการลบหรือนำภาพออก ให้เราบันทึกหลักฐานการโพสต์ภาพ เช่น ถ่ายภาพหน้าจอ หรือบันทึกลิงก์ URL เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการดำเนินการทางกฎหมาย

พิจารณาแจ้งความดำเนินคดีกับผู้กระทำผิด

ในกรณีที่ได้รับความเสียหาย มีการเผยแพร่ภาพผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต อย่างร้ายแรง และผู้กระทำไม่ยอมแก้ไขหรือชดใช้ เจ้าของภาพอาจพิจารณาแจ้งความร้องทุกข์กล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวน โดยสามารถยื่นแจ้งความได้ที่สถานีตำรวจทุกแห่ง ไม่จำเป็นต้องเป็นท้องที่เกิดเหตุ โดยพนักงานสอบสวนจะพิจารณาว่าเข้าข่ายความผิด PDPA มาตรา 79 หรือเป็นความผิดฐานอื่นตามประมวลกฎหมายอาญาหรือไม่ ซึ่งต้องพิจารณาจากพฤติการณ์เป็นกรณีๆ ไป

กรณีการโพสต์รูปหรือข้อมูลทั่วไปมีความผิดตาม PDPA หรือไม่

จากกรณีตัวอย่างต่างๆ ที่มีการส่งข้อหารือมายังคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พบว่าการโพสต์รูปหรือข้อมูลส่วนบุคคลทั่วไป เช่น ชื่อ รูปภาพบุคคล ประวัติส่วนตัว ข้อมูลการติดต่อ อาจไม่เข้าข่ายเป็นความผิดทางอาญาตาม PDPA โดยเฉพาะมาตรา 79 เพราะไม่ได้เป็น “ข้อมูลอ่อนไหว” ตามมาตรา 26 เช่น ข้อมูลเชื้อชาติ ความคิดเห็นทางการเมือง ศาสนา พฤติกรรมทางเพศ เป็นต้น อีกทั้งอาจเข้าข้อยกเว้นการบังคับใช้ PDPA ตามมาตรา 4(1) หากเป็นการเก็บหรือใช้ข้อมูลเพื่อกิจการส่วนตัวหรือในครอบครัวเท่านั้น

นอกจากนี้การโพสต์ข้อมูลเพื่อแสดงความคิดเห็นส่วนตัว วิพากษ์ วิจารณ์ หรือแสดงความคับข้องใจต่อบุคคลอื่น แม้อาจไม่ผิด PDPA โดยตรง แต่หากเป็นลักษณะการโพสต์เพื่อประจาน เสียดสี หรือทำให้ผู้อื่นเสื่อมเสียชื่อเสียง อาจเข้าข่ายความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา หรือผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ในเรื่องการโพสต์ข้อมูลอันเป็นเท็จได้

สรุป

พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 หรือ PDPA กำหนดให้การเผยแพร่ภาพผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมายและอาจมีโทษ ผู้ที่กระทำการลงรูปคนอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาตต้องระมัดระวังให้มาก ส่วนเจ้าของข้อมูลที่ภาพของตนถูกเผยแพร่ก็สามารถใช้สิทธิตาม PDPA โดยติดต่อขอให้ลบภาพ หรือแจ้งความดำเนินคดีได้ อย่างไรก็ดีกฎหมายยังมีข้อยกเว้นในกรณีโพสต์รูปหรือข้อมูลส่วนบุคคลทั่วไปโดยไม่ได้เจตนาทำร้าย ซึ่งต้องพิจารณาจากพฤติการณ์เป็นกรณีๆ ไป หากท่านมีข้อสงสัยเกี่ยวกับประเด็นทางกฎหมายละเมิดสิทธิส่วนบุคคล สามารถติดต่อขอรับคำปรึกษาจากทีมนักกฎหมายผู้เชี่ยวชาญของ THEMIS LEGAL SPIRIT ได้โดยตรง เพื่อความรอบคอบและปลอดภัยที่สุด

คำถามที่พบบ่อย

คดีหมิ่นประมาทเสียค่าปรับเท่าไหร่ ?

ความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่หากเป็นการหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา มีโทษหนักขึ้นเป็นจำคุกไม่เกิน 2 ปี และปรับไม่เกิน 200,000 บาท อย่างไรก็ตาม จำเลยอาจต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหายตามจำนวนที่ศาลเห็นสมควรอีกด้วย

หมิ่นประมาทโดยการโฆษณายอมความได้หรือไม่ ?

โดยปกติ ความผิดฐานหมิ่นประมาทเป็นความผิดอันยอมความได้ แต่หากเป็นการหมิ่นประมาทโดยการโฆษณาด้วยเอกสาร ภาพวาด ภาพระบายสี ภาพยนตร์ ภาพหรือตัวอักษรที่ทำให้แพร่หลาย หรือโดยกระทำการป่าวประกาศด้วยวิธีอื่น ไม่เป็นความผิดอันยอมความได้ ผู้เสียหายต้องร้องทุกข์เพื่อให้พนักงานอัยการยื่นฟ้องคดีต่อศาลเท่านั้น

โพสต์รูปคนอื่นผิดกฎหมายไหม ?

การโพสต์รูปคนอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต อาจเข้าข่ายเป็นการละเมิดสิทธิตาม พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) หากเป็นการนำข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และอาจผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ หากเป็นการนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนอาจเข้าถึงได้ นอกจากนี้ ยังอาจเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลที่ทำให้เกิดความเสียหายตามมาตรา 420 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้

Scroll to Top